ภาษีรถ 7 ที่นั่ง คำนวณอย่างไร ใช้เงินเท่าไหร่?

ประสบการณ์ใช้รถ | 21 เม.ย 2565
แชร์ 16

รวบรวมขั้นตอน วิธีการคิดคำนวณภาษีรถยนต์ 7 ที่นั่ง ที่ผู้ใช้รถอย่างเราสามารถคำนวณเองง่าย ๆ ได้ทุกที่ ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรือต้องคิดนานให้ปวดหัว

ภาษีรถยนต์ก็เป็นอีกอย่างที่ผู้ใช้รถต้องจ่ายควบคู่ไปกับ พ.ร.บ.รถยนต์ โดยจะจ่ายมากจ่ายน้อยนั้นขึ้นอยู่กับหลายอย่าง เช่น ขนาดของรถ, ประเภทรถ, น้ำหนักรถ หรืออายุของรถ ซึ่งคุณสามารถคำนวณด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ดังนี้

การคำนวณภาษีรถ 7 ที่นั่ง

1. รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง


รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง

รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง อาทิ รถกระบะ, รถเก๋ง ฯลฯ หรือรถที่มีป้ายทะเบียนขาว ตัวหนังสือดำ จะคำนวณภาษีจากขนาดของเครื่องยนต์ (ซี.ซี.) โดยมีอัตราดังนี้ 

  • 1 - 600 cc. คิด ซีซี. ละ 0.50 บาท
  • 601 - 1,800 cc. คิด ซีซี. ละ 1.50 บาท
  • เกิน 1,800 cc. คิด ซีซี. ละ 4.00 บาท

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถไม่เกิน 7 ที่นั่ง

  • 600 ซีซี. แรก คิด cc ละ 0.50 บาท : 600 x 0.50 = 300 บาท
  • 601 - 1,800 cc. คิด ซีซี. ละ 1.50 บาท : (1,800 - 600) x 1.50 = 1,800 บาท
  • เกิน 1,800 cc. คิด ซีซี. ละ 4.00 บาท : (2,393 - 1,800) x 4 = 2,372 บาท
  • ภาษีทั้งหมดที่ต้องจ่าย : 300 1,800 2,372 = 4,472‬ บาท

ภาษีรถยนต์ คำนวณง่าย ๆ ได้ทุกที่
ภาษีรถยนต์ คำนวณง่าย ๆ ได้ทุกที่

>> ดูเพิ่มเติมสำหรับ รถมือสอง ที่ขายในประเทศไทย

สำหรับรถไม่เิน 7 ที่นั่ง ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จะได้รับการลดหย่อนภาษี ดังนี้

  • รถที่มีอายุเกิน 6 ปี ได้รับการลดภาษี 10%
  • รถที่มีอายุเกิน 7 ปี ได้รับการลดภาษี 20%
  • รถที่มีอายุเกิน 8 ปี ได้รับการลดภาษี 30%
  • รถที่มีอายุเกิน 9 ปี ได้รับการลดภาษี 40%
  • รถที่มีอายุเกิน 10 ปีขึ้นไป ได้รับการลดภาษี 50%

ตัวอย่างการคำนวณภาษีไม่เกิน 7 ที่นั่ง

  • รถที่มีอายุเกิน 6 ปี ลดภาษี 10% : 4,472 - 10% = 4,024.8 บาท
  • รถที่มีอายุเกิน 7 ปี ลดภาษี 20% : 4,472 - 20% = 3,577.6‬ บาท
  • รถที่มีอายุเกิน 8 ปี ลดภาษี 30% : 4,472 - 30% = 3,130.4‬ บาท
  • รถที่มีอายุเกิน 9 ปี ลดภาษี 40% : 4,472 - 40% = 2,683.2 บาท
  • รถที่มีอายุเกิน 10 ปีขึ้นไป ลดภาษี 50% : 4,472 - 50% = 2,236 บาท

2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง

รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง

อัตราภาษีรถยนต์ 7 ที่นั่ง

รถนั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง อย่างพวกรถ MVP ตั้งแต่ 7 ที่นั่งขึ้นไป หรือรถที่ได้ป้ายทะเบียนขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน จะคำนวณภาษีจากน้ำหนักของรถ ดังนี้

น้ำหนักรถ อัตราภาษี 
 ไม่เกิน 500 กก  150 บาท
 ตั้งแต่ 501 - 750 กก  300 บาท
 ตั้งแต่ 751 - 1,000 กก  450 บาท
 ตั้งแต่ 1,001 - 1,250  กก  800 บาท
 ตั้งแต่ 1,251 - 1,500  กก  1,000 บาท
 ตั้งแต่ 1,501 - 1,750  กก  1,300 บาท
 ตั้งแต่ 1,751 - 2,000  กก  1,600 บาท
 ตั้งแต่ 2,001 - 2,500  กก  1,900 บาท
 ตั้งแต่ 2,501 - 3,000  กก  2,200 บาท
 ตั้งแต่ 3,001 - 3,500  กก  2,400 บาท
 ตั้งแต่ 3,501 - 4,000  กก  2,600 บาท
 ตั้งแต่ 4,001 - 4,500  กก  2,800 บาท
 ตั้งแต่ 4,501 - 5,000  กก  3,000 บาท
 ตั้งแต่ 5,001 - 6,000  กก  3,200 บาท
 ตั้งแต่ 6,001 - 7,000  กก  3,400 บาท
 ตั้งแต่ 7,001 ขึ้นไป  3,600 บาท

 

ทั้งนี้ ในส่วนของรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักรถในอัตราเดียวกับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง 

อ่านเพิ่มเติม