วิธีขับรถลุยน้ำท่วมให้ปลอดภัยและลดความเสี่ยงรถพัง

ประสบการณ์ใช้รถ | 4 พ.ค 2561
แชร์ 10

ช่วงนี้ประเทศไทยเริ่มเข้าหน้าฝนเเล้วค่ะ Chobrod ขอเเชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการขับรถลุยน้ำท่วมเพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงรถพังมาฝากคนผู้ชมทุกๆ ท่านนะคะ มาดูพร้อมกันเลยค่ะ

วันที่ 4 พ.ค. นี้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนสำหรับภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ 

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 25 กม./ชม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา และกาฬสินธุ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคกลาง มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. 
ภาคตะวันออก มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูลอุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

เเล้วต่อไปนี้เรามาดูกันว่าการประเมินระดับน้ำท่วมนั้นนับว่าอย่างไรดังต่อไปนี้ การประเมินระดับน้ำท่วมมีส่วนสำคัญมาก อาจจะเป็นเพียงทางเลือกระหว่างไปหรือไม่ ในเส้นทางดังกล่าว ซึ่งการสังเกตระดับน้ำนั้น ให้ใช้จุดอ้างอิงต่างๆที่เราสามารถสังเกตได้ เช่น รถยนต์ที่สวนทางมา เสาไฟฟ้า ต้นไม้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ถือว่าเป็นตัวชี้วัดได้อย่างดี และคุณควรตัดสินใจให้ดีก่อนทำการลงน้ำ 


การประเมินระดับน้ำท่วม

การประเมินระดับน้ำท่วม

การประเมินระดับน้ำท่วม
การประเมินระดับน้ำท่วม

ระดับน้ำนี้ถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยเท่านั้น และไม่สามารถส่งผลต่อการเดินทางของรถ และระดับน้ำระดับนี้มักเจอเป็นประจำเมื่อพบน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งระดับนี้เป็นระดับที่ปลอดภัย สามารถผ่านได้ ทั้งรถเก๋งและรถกระบะ ไร้ปัญหา
 ตรงนี้รถเก๋งอาจจะเริ่มมีปัญหา เรานี่คือระดับขอบประตูรถเก๋งเกือบแทบทุกรุ่นในปัจจุบันที่มีระยะสูงจากพื้น 150-170 ม.ม. เท่านั้น ระดับที่ท่วม 3 ใน 4 ของล้อรถนั้น ส่งผลให้ท่อไอเสียนั้นจะจมนั้นอยู่เกือบตลอดเวลา แต่ก็ยังพอไปได้ถ้าทางนั้นไม่ยาวมากนัก แต่ถือว่าเริ่มเสี่ยงมาก อาจจะมีได้พรมแฉะกันบ้างล่ะ โดยเฉพาะรถกลุ่มซิตี้คาร์ ส่วนรถกระบะทั่วไปสามารถผ่านได้ ยกสูง ขับ 4 ยังสบายใจได้อยู่
ระดับน้ำขนาดนี้เป็นเรื่องอันตรายกับรถทุกประเภท ไม่เว้นกระทั่งรถใหญ่ทั้งหลาย เพราะน้ำนั้นอาจจะมีสิทธิไหลเข้ากรองอากาศได้ง่ายกว่า ยิ่งเจอคลื่นนั้นอาจจะสูงถึงระดับ 1 เมตร ที่สามารถทำให้เครื่องยนต์หยุดชะงักและสร้างความเสียหายต่อระบบต่างๆได้ การลุยน้ำท่วมระดับนี้ ต้องใช้ความชำนาญการเป็นพิเศษพอตัว ที่สำคัญ พยายามอย่าปะทะคลื่นโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงเครื่องดับกลางอากาศ และอย่าใช้ความเร็วสูงนัก
ระดับน้ำสูงเกินกว่า 80 เซนติเมตร  ระดับน้ำที่มากที่สุดที่รถเดิมๆจากโรงงานจะสามารถผ่านได้และก็ไม่ใช่ทุกรุ่น เสียด้วย ตามปกติ ระดับน้ำ 80 ซ.ม. นั้นหมายถึงน้ำขึ้นถึงฝากระโปรง ท่วมไฟหน้ามิดสิ่งสำคัญคือปิดระบบไฟต่างๆ เพื่อป้องกันการลัดวงจรเดินเครื่องอย่างต่อเนื่องอย่าหยุด แต่ถ้าอยากให้ปลอดภัย น้ำระดับนี้ ควรมากับรถลุยที่มีการปรับแต่งยกสูงจากปกติประมาณ 2-4 นิ้ว จะมั่นใจกว่า
ทั้งนี้อย่างที่บอกไปในเบื้องต้นว่าการประเมินระดับน้ำนั้นต้องอาศัยสิ่งที่ ช่วยอ้างอิง และที่สำคัญ ต้องรู้จักรถเราอย่างดี ว่าระดับไหนที่ปลอดภัย อย่าฝืน มิฉะนั้น อาจจะเกิดอันตรายกลางทางได้
การขับรถฝ่าน้ำท่วมจึง ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะเครื่องยนต์กลไกและระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆของรถยนต์ ไม่ถูกกับน้ำอย่างยิ่ง หากไม่อยากเสียเงินเพื่อซ่อมรถหรือร้ายแรงสุดๆคือยกเครื่องใหม่ถ้าเลี่ยงเส้นทางน้ำท่วมได้ หรือมีเส้นทางอื่นที่ไปถึงได้เหมือนกัน ก็ควรเลี่ยงอย่าฝืนหรืออย่าเสี่ยงจะดีกว่า

ต่อไปนี้คือวิธีขับฝ่าน้ำท่วมยังไงให้ปลอดภัย และลดความเสี่ยงรถพังจากประสบการณ์ของChobrod  
1. ปิดระบบทำความเย็น หรือแอร์ทันที เพราะในขณะที่เรากำลังขับฝ่าน้ำท่วม หากเปิดแอร์ไว้ พัดลมจะทำงาน ทำให้ใบพัดหมุนตีจนน้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง ซึ่งอาจทำให้น้ำเข้าห้องเครื่อง หรือเข้าระบบไฟได้ นอกจากนี้ใบพัดอาจพัดไปโดนเศษขยะต่างๆ เช่น กิ่งไม้ ขวดแก้ว ฯลฯ จนทำให้เกิดความเสียหาย ใบพัดแตก หรือหักได้อีกด้วย
2. ใช้เกียร์ต่ำขณะขับฝ่าน้ำท่วม โดยใช้แค่เกียร์ 1 หรือ 2 เท่านั้น สำหรับเกียร์ธรรมดา ส่วนเกียร์ออโต้ให้ใช้เกียร์ L หรือ 1 (เกียร์ต่ำสุดของรถแต่ละรุ่น) นอกจากนี้ควรรักษารอบเครื่องเอาไว้ประมาณ 1,500 – 2,000 รอบ เพราะหากรอบต่ำเกินไป เครื่องอาจดับได้ และหากรอบเครื่องสูงเกินไปอาจดูดน้ำเข้าห้องเครื่องได้ ให้รักษาความเร็วเอาไว้อย่างสม่ำเสมอ


วิธีขับรถลุยน้ำท่วมหน้าฝน

3. อย่าเร่งรอบเครื่องสูงๆ หลายคนมักเข้าใจผิด เร่งเครื่องเร่งรอบระหว่างขับผ่านน้ำท่วม เพราะกลัวน้ำจะเข้าท่อไอเสีย กลัวเครื่องจะดับ แต่จริงๆ แล้วมันกลับให้ผลร้ายมากกว่าที่คิด เนื่องจากการเร่งรอบสูงๆ ทำให้มีอุณหภูมิห้องเครื่องสูงขึ้น และเมื่อความร้อนสูงขึ้น พัดลมระบายความร้อนก็จะทำงาน ทำให้ใบพัดหมุน ผลเสียที่ตามมาก็จะเหมือนกับในข้อแรก และไม่ต้องไปกังวลเรื่องน้ำเข้าท่อ ถึงแม้น้ำจะท่วมท่อไอเสียก็ตาม เพราะรอบเดินเบามีแรงดันมากพอที่จะดันน้ำออกมาจากท่อได้นั่นเอง
4. ลดความเร็วลงเมื่อขับรถสวนกัน เพราะรถที่สวนเลนมาจะมีระดับคลื่นที่ดันผ่านมากับคลื่นที่เราดันไป ทำให้เกิดแรงปะทะระหว่างทั้ง 2 คลื่น และคลื่นน้ำที่ชนกันจะก่อให้เกิดแรงกระทบ พร้อมกับระดับน้ำที่สูงขึ้น ซึ่งมันสามารถเข้าไปสร้างความเสียหายภายใน หรือท่วมห้องเครื่องได้


วิธีขับรถลุยน้ำท่วมหน้าฝน

5. เว้นระยะให้ห่างจากคันหน้ามากกว่าปกติ เพราะอย่าลืมว่า ระบบเบรกทั้งหมดจมอยู่ในน้ำ ประสิทธิภาพในการทำงานจึงลดต่ำลงมาก หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น จะได้มีระยะเบรกที่ปลอดภัย และหากขับรถพ้นช่วงน้ำท่วมแล้ว ให้ทำการย้ำเบรกบ่อยๆ หรือเหยียบเบรกเป็นช่วงๆ ถี่ๆ เพื่อไล่น้ำออกจากระบบ และผ้าเบรกจะได้แห้งไวขึ้น สำหรับรถเกียร์ธรรมดา ให้ย้ำคลัตช์เพิ่มเข้าไปด้วยอีกหนึ่งอย่าง เพราะอาจมีปัญหาคลัตช์ลื่นได้หลังจากผ่านการลุยน้ำท่วม
หลังจากที่ขับฝ่าน้ำท่วมมาได้แล้ว หรือถึงจุดหมายปลายทางแล้ว อย่าเพิ่งรีบดับเครื่องยนต์ ให้วอร์มเครื่องไปอีกสักพัก เพราะอาจมีน้ำตกค้างอยู่ในหม้อพักท่อ และถ้าเห็นว่ามีไอ หรือควันออกมาจากท่อไอเสีย อย่าได้ตกใจไป เพราะมันคือน้ำที่ระเหยออกมานั่นเอง ซึ่งหากคุณไม่ทำแบบนี้ อาจทำให้ท่อทั้งเส้นผุกร่อนเร็วกว่าปกติ นอกจากนี้คุณควรที่จะนำรถไปล้าง เน้นฉีดน้ำแรงๆ เข้าไปบริเวณใต้ท้องรถ และซุ้มล้อ เพราะมันอาจมีเศษทราย เศษขยะ ฯลฯ ติดอยู่ภายในนั้น

ด้วยความปรารถนาดีจากChobrodเเละขอฝากความรู้นิดๆ หน่อยๆ เกี่ยวกับประสบการณ์ในการขับรถลุยน้ำท่วมถึงคนผู้ชมทุกท่านและอย่าลืมแชร์ความรู้ให้เราด้วยโดยการให้ Comment ด้านล่างนี้ได้เลย