ทำใบขับขี่ใหม่ ต้องใช้ “ใบรับรองแพทย์” แบบ 2 ส่วน มาตรฐานแพทยสภา เริ่ม 1 มีนาคมนี้

ประสบการณ์ใช้รถ | 26 ก.พ 2561
แชร์ 0

กรมการขนส่งทางบก แจ้งให้ผู้ที่ยื่นขอทำใบขับขี่ โดยให้ใช้ “ใบรับรองแพทย์” ที่เป็นแบบ 2 ส่วน ทาง แพทยสภากำหนดแบบมาตรฐาน ให้ผู้ขอทำใบขับขี่ลงนามร่วมกันกับแพทย์ผู้ตรวจ เริ่มใช้ในวันที่ 1 มี.ค. นี้ และได้กำหนดให้ผู้ที่เป็นโรค 5 โรคต้องห้ามนี้ ได้แก่ ผู้ที่ติดยาเสพติดให้โทษ โรคเท้าช้าง วัณโรค โรคเรื้อน และพิษสุราเรื้อรัง

กรมการขนส่งทางบก แจ้งให้ผู้ที่ยื่นขอทำใบขับขี่ โดยให้ใช้ “ใบรับรองแพทย์” ที่เป็นแบบ 2 ส่วน ทางแพทยสภากำหนดแบบมาตรฐาน ให้ผู้ขอทำใบขับขี่ลงนามร่วมกันกับแพทย์ผู้ตรวจ เริ่มใช้ในวันที่ 1 มี.ค. นี้ และได้กำหนดให้ผู้ที่เป็นโรค 5 โรคต้องห้ามนี้ ได้แก่ ผู้ที่ติดยาเสพติดให้โทษ โรคเท้าช้าง วัณโรค โรคเรื้อน และพิษสุราเรื้อรัง

ซึ่งใบรับรองแพทย์แบบมาตรฐานใหม่ที่จะนำมาใช้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 เป็นของผู้ขอรับใบรับรองสุขภาพโดยให้กรอกประวัติโรคประจำตัว ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ การผ่าตัด และประวัติเคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามความจริง

ส่วนที่ 2 เป็นของแพทย์ผู้รับรองให้ผู้ขอรับบริการตรวจสุขภาพ โดยตรวจสภาพทางด้านร่างกายว่า ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไม่ปรากฏอาการของโรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน หรือปัญญาอ่อน ไม่ปรากฏอาการของการติดยาเสพติดให้โทษ และอาการของโรคพิษสุราเรื้อรัง และไม่ปรากฏอาการและอาการแสดงของโรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการขั้นรุนแรง

ในส่วนของโรคประจำตัวบางประเภท แม้ตามกฎหมายจะยังไม่กำหนดให้เป็นโรคต้องห้ามที่เป็นอุปสรรคต่อการขับรถ เช่น โรคลมชัก โรคความดันโลหิตสูง หากได้รับใบอนุญาตขับรถไปแล้ว แต่มีอาการของโรคกำเริบขณะขับรถจนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง นายทะเบียนอาจพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตขับรถได้เพื่อความปลอดภัยแก่ตัวผู้เป็นโรคนั้นๆ และผู้อื่นด้วย

การใช้ปรับปรุงให้มีการใช้ใบรับรองแพทย์ 2 ส่วนนี้ ทางด้านแพทยสภารับรองแล้วว่า เป็นการลดความเสี่ยงของสถานพยาบาล เพื่อให้สอดคล้องกับทางด้านกฎหมาย โดยทางกรมขนส่งทางบกจะใช้ฟอร์มใบรับรองแพทย์แบบใหม่นี้นี้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2561 นี้