“พรบ. รถยนต์” หรือ “ประกันรถยนต์ภาคบังคับ” มีไว้ทำไมกัน?

ประสบการณ์ใช้รถ | 29 ก.ย 2560
แชร์ 0

รถยนต์คันหนึ่งเมื่อออกมาวิ่งบนถนน คนขับต้องมีความรับผิดชอบต่อทั้งตัวเองและเพื่อนร่วมทางเป็นอย่างมาก เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ความเสียหาย อาจหมายถึงทั้งชีวิตและทรัพย์สินของทุกฝ่าย ดังนั้น กฎหมายจึงกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องทำประกันรถยนต์ ซึ่งประกันรถยนต์ มีทั้งหด 2 ประเภทด้วยกัน คือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พรบ. รถยนต์ และ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ

พรบ. รถยนต์
พรบ. รถยนต์ หรือ  ประกันรถยนต์ภาคบังคับ

  • คำถามแรก คือ ทำไมจึงเรียก พรบ. รถยนต์ว่า ประกันรถยนต์ภาคบังคับ?

ตอบ เพราะเป็นประกันรถยนต์ที่กฎหมายบังคับให้ทำนั่นเอง ตาม พรบ.การทำประกันภัยปี 2535 กำหนดให้รถทุกชนิดต้องทำ พรบ. รถยนต์ จึงจะสามารถต่อทะเบียนได้ นั่นหมายถึง หากรถไม่มี พรบ. ก็จะเป็นรถที่ไม่มีทะเบียน = ผิดกฎหมาย

  • พรบ. รถยนต์ทำที่ไหน อย่างไร?

ตอบ โดยปกติแล้วการทำ พรบ. รถยนต์จะต้องทำควบคู่ไปกับการต่อทะเบียนรถยนต์ ที่กรมการขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ หรือ ฝากตัวแทนที่รับทำ พรบ. รถยนต์ก็สามารถทำได้ ใช้หลักฐานเพียงแค่ สำเนาทะเบียนรถและบัตรประชาชนของเจ้าของรถเพียง 1 ใบเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบัน การทำ พรบ. รถยนต์ ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ แค่เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่ง www.dlte-serv.in.th. ก็ได้แล้ว

  • พรบ. รถยนต์คุ้มครองอะไร?

ตอบ คุ้มครองต่อชีวิตและทรัพย์สิน ณ ที่เกิดเหตุ รวมถึง ค่าใช้จ่ายในการพาไปโรงพยาบาลและค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นนั่นเอง

>> ดูเพิ่มเติม: ซื้อรถมือสองที่มีประกันมากับรถ สามารถใช้ต่อได้ไหม ?

พรบ. รถยนต์ หรือ  ประกันรถยนต์ภาคบังคับ
บทลงโทษ หากไม่ทำพรบ. รถยนต์

ซึ่ง พรบ. รถยนต์มีเกณฑ์ความคุ้มครองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1.  ค่าเสียหายเบื้องต้น
●   โดยคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย จะได้รับ 30,000 บาท ภายใน 7 วัน กรณีบาดเจ็บคนละ 35,000 บาท ซึ่งในกรณีบาดเจ็บจนสูญเสียอวัยวะ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. บาดเจ็บและสูญเสียอวัยวะตามมา จะได้รับเงินคนละไม่เกิน 65,000 บาท

2. เสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพ คนละ 35,000 บาท

3. กรณีรักษาพยาบาลแล้วเสียชีวิต จะได้รับค่าชดเชย คนละไม่เกิน 65,000 บาท

พรบ. รถยนต์ หรือ  ประกันรถยนต์ภาคบังคับ
อัตราเบี้ยพรบ. รถยนต์ หรือ  ประกันรถยนต์ภาคบังคับ

2.  ค่าสินไหมทดแทน
●   จะจ่ายให้เฉพาะฝ่ายที่ถูกเท่านั้น และเป็นไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย คือ  

1. ค่ารักษาพยาบาลที่เบิกตามจริง หรือ ไม่เกิน 80,000 บาท

2. เงินชดเชย กรณีสูญเสียอวัยวะตามหลักเกณฑ์ข้างต้น 200,000 – 300,000 บาท

3. เงินชดเชย กรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพถาวร 300,000 บาท

4. ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยใน วันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วัน รวมเป็นจำนวน 4,000 บาท

5. รวมค่าสินไหมทดแทนทั้งหมด คนละไม่เกิน 304,000 บาท

●   กรณีเกิดเหตุกับรถยนต์ 2 คันขึ้นไป ผู้ได้รับบาดเจ็บ จะได้รับการดูแลตามประกันที่ทำไว้ของรถแต่ละคันอยู่แล้ว (ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ) แต่ถ้ามีบุคคลที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้อง กรณีนี้ จะให้แต่ละบริษัทร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ

>> ดูเพิ่มเติม: วิธีประหยัดค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์

พรบ. รถยนต์ หรือ  ประกันรถยนต์ภาคบังคับ
ค่าเสียหายเบื้องต้น

พรบ. รถยนต์ หรือ  ประกันรถยนต์ภาคบังคับ
ค่าสินไหมทดแทน

เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงต้องบังคับทำ พรบ. รถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ รวมทั้ง การขับขี่จะได้รับความคุ้มครองมากขึ้น หากทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจร่วมด้วย ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายแห่งให้เลือกมากมาย

ขอบคุณภาพประกอบจาก  www.frank.co.th

 

>> ดูเพิ่มเติม:

รีบไปต่อด่วน!! กรมขนส่งประกาศ!! ประกันต้องจ่าย “พรบ. ต่อทุกปี” ได้เงิน 3 แสน แบบไม่ต้องขึ้นศาล!!

ประกันรถยนต์แบบระบุคนขับดีไหม, คนอื่นขับไปชนจะเคลมประกันได้หรือเปล่า

ประกันรถยนต์คุ้มครองแค่ไหน ถ้าโดนชนแล้วหนี ?